วันพุธที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

ความแตกต่างระหว่างการสั่นสะเทือนและช็อค Difference Between Vibration and Shock Pulse

สำหรับการสั่นสะเทือน (Vibration) และ Shock Pulse อาจดูคล้ายๆกัน.. 
ผมจะขออธิบายแบบไม่ต้องวิชาการมากนะครับเอาพอเข้าใจน่ะครับตามหลักกายภาพ
ก่อนอื่นมาทำความรู้จักกับ Vibration และ Shock Pulse สักนิดนึงก่อนนะครับ...

การสั่นสะเทือน (Vibration) 



การสั่นสะเทือนหรือ Vibration การสั่นสะเทือนเกิดจากมีแรงภายนอกเข้ามากระทำกับอนุภาคหรือชิ้นส่วนที่เรากำลังพิจารณา เกิดการส่งถ่ายพลังงานจากจุดรับแรงภายนอกไปยังจุดอื่น  โดยที่ชิ้นส่วนหรืออนุภาคจะเกิดการเคลื่อนที่เมื่อมีแรงมากระทำ  ลักษณะการเคลื่อนที่ถ้าเรานำมาพล๊อตกราฟจะเป็นลักษณะ Sine Wave หรือรูปคลื่นไซน์โดยที่แกนตั้ง(แกนY)จะแสดงขนาดของการสั่นและแกนนอน(แกนX)จะแทนช่วงเวลาที่สั่น
การเกิดขึ้นของรูปคลื่นไซน์จะมีขนาด(Amplitude) สูงในช่วงแรกและค่อยๆ ลดหายไปลักษณะนี้เรียกว่า Free Vibration



หากแรงที่มากระทำเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง (Excitation) เช่น เครื่องจักรที่มีฟังก์ชั่นการทำงานลักษณะหมุน (Rotating Machine) รูปคลื่นไซน์ที่เกิดขึ้นก็จะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องไม่สิ้นสุด ลักษณะนี้เรียกว่า Force Vibration และกรณีโหลดของเครื่องจักรคงที่ ขนาดหรือแอมพลิจูดของรูปคลื่นไซน์ก็จะคงที่สม่ำเสมอ..




Shock Pulse

สำหรับ Shock Pulse จะเกิดขึ้นจากแรงกระแทก พลังงานจากแรงภายนอกที่มากระแทก (Energy Impact) จะส่งถ่ายจากจุดที่รับแรงกระแทกส่งไปจุดอื่นๆ การส่งพลังงานนี้เกิดขึ้นในระดับโมเลกุล ส่งจากอะตอมไปอีกอะตอมโดนที่อนุภาคหรือชิ้นส่วนที่โดนกระแทกไม่เกิดการเคลื่อนที่..


ดังนั้นเมื่อมีแรงกระแทกหรือเกิดการหมุนของเพลาหรือเครื่องจักร ก็จะมีทั้ง Vibration และ Shock Pulse เกิดขึ้นรวมกัน


ลองดูภาพเคลื่อนไหวครับ จะเข้าใจได้ง่ายขึ้น แยก Vibration และ Shock Pulse ได้อย่างชัดเจนครับ






ขอบคุณครับที่เข้ามาเยี่ยมชม.. ผมจะพยายามเอาความรู้ที่ผมมีมาแบ่งปันกันนะครับ

และถ้าผมนำเสนอส่วนไหนที่มันผิดพลาดก็ขอคำชี้แนะด้วยนะครับ... 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น